อุปกรณ์ในห้องแล็ปหลัก ๆ มีอะไรบ้าง มาดูกัน

จำหน่ายเครื่องมือวัดสำหรับงานอุตสาหกรรม
หลาย ๆ คนคงเคยเข้าห้องแล็ปเมื่อตอนเรียนอยู่ชั้นมัธยมอย่างแน่นอนเลยใช่ไหมคะ และ ก็คงมีอีกหลาย ๆ คนที่ได้เข้ามาทำงานในห้องแล็ปจนถึงปัจจุบัน วันนี้ PICO เลยนำข้อมูลของอุปกรณ์ในห้องแล็ปมาฝากทุกคนกันว่ามันมีอะไรบ้างที่สำคัญ

หลาย ๆ คนคงเคยเข้าห้องแล็ปเมื่อตอนเรียนอยู่ชั้นมัธยมอย่างแน่นอนเลยใช่ไหมคะ และ ก็คงมีอีกหลาย ๆ คนที่ได้เข้ามาทำงานในห้องแล็ปจนถึงปัจจุบัน วันนี้ PICO เลยนำข้อมูลของอุปกรณ์ในห้องแล็ปมาฝากทุกคนกันว่ามันมีอะไรบ้างที่สำคัญ และ แต่ละอย่างนั้นเอาไว้ทำอะไร ลองมาดูกันเลยค่ะ 

  1. บีกเกอร์ เป็นอุปกรณ์พื้นฐานในห้องปฏิบัติการเคมีใช้สำหรับเตรียมสารละลาย ต้มสารละลาย  ตกตะกอน ผสมสารหรือให้สารทำปฏิกิริยากัน บีกเกอร์มีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็ก 50 ml ไปจนถึง  5 L บีกเกอร์ที่นิยมใช้ในห้องปฏิบัติการมักทำจากแก้วทนไฟ (Pyrex หรือ Bomex) และก็ยังมีชนิดที่ทำด้วยพลาสติกที่ไม่สามารถตั้งไฟได้แต่ราคาถูกกว่า 
  2. กระบอกตวง (cylinder) เป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับวัดปริมาตรของเหลว หรือใช้ตวงสารละลาย ให้มีปริมาตรตามที่ต้องการ ปริมาตรสารละลายที่ได้จากการวัดด้วยกระบอกตวงเป็นปริมาตรอย่างคร่าวๆเท่านั้น หากต้องการความแม่นยำสูงต้องใช้อุปกรณ์ประเภทอื่น เช่น ปิเปต เป็นต้น กระบอกตวงมีทั้งแบบทำด้วยแก้วและทำด้วยพลาสติก มีหลายขนาดให้เลือกใช้ โดยมีตั้งแต่ 5 ml.ไปจนถึง 2 L.
  3. ขวดรูปชมพู่ (Erlenmeyer flask) หรือเรียกอีกอย่างว่า conical flask ทำด้วยแก้วมีลักษณะเป็นทรงกรวย มีสเกลบอกปริมาตร มีหลายขนาดด้วยกัน แต่ที่นิยมใช้ในห้องปฏิบัติการเคมี มีขนาดความจุ 250 – 500 ml.นิยมใช้ในการไทรเทรทสารละลาย
  4. หลอดหยดสาร (dropper) อุปกรณ์พื้นฐานสำหรับห้องปฏิบัติการเคมีมีลักษณะเป็นหลอดแก้วปลายเรียวเล็ก ส่วนปลายอีกข้างหนึ่งมีกระเปาะยางติดอยู่ เพื่อใช้ในการดูดสารละลาย หลอดหยดสารใช้สำหรับหยดสารละลายทีละน้อยๆ  ซึ่งสามารถใช้ในการเตรียมสารละลาย เพื่อปรับปริมาตรสารให้ได้ตามที่ต้องการ หรือ ใช้ในการหยดสารเพื่อให้ทำปฏิกิริยากันอีกด้วย
  5. บิวเรต (buret หรือ burette) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการไทเทรต มีลักษณะเป็นหลอดแก้วที่มีขีดบอกปริมาตรและมีวาล์วสำหรับเปิด-ปิด เพื่อควบคุมการปล่อยสารละลายภายในหลอดที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา จึงทำให้สามารถวัดปริมาตรสารที่ใช้ไปในการทดลองได้ อย่างแม่นยำ ขนาดที่นิยมใช้โดยทั่วไปในห้องปฏิบัติการคือ 25 ml. หรือ 50 ml.

(ที่มาข้อมูล: http://www.kru-aor.com/laboratory/lab.html)

อุปกรณ์ในห้องแล็ปที่กล่าวมายังไม่หมดเพียงเท่านี้นะคะ เพราะยังมีอีกหลายตัวหลายชนิดเลย ซึ่งเดี๋ยวเราจะนำมาบอกต่อครั้งหน้าอีก 5 ตัวว่ามีอะไรอีกบ้าง ส่วนใครที่กำลังหาร้านจำหน่ายเครื่องมือวัดสำหรับงานอุตสาหกรรม อุปกรณ์ในห้องแล็ป  สามารถเข้าไปเลือกซื้อ เลือกชมได้ที่ https://www.pico.co.th/ ตัวแทนจำหน่ายเครื่องมือในงานอุตสาหกรรมชั้นนำของประเทศไทยกันได้เลยครับ

Related Posts