ทำไมต้องต่อประกันรถยนต์ ?

ต่อประกันรถยนต์

การประกันภัยรถยนต์ คือ การประกันความเสียหายอันเกิดจากการใช้รถยนต์ โดยการประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2536 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อคุ้มครองผู้ได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของผู้ประสบภัยเนื่องจากรถที่ใช้หรืออยู่ในทาง หรือเนื่องจากสิ่งที่บรรทุกหรือติดตั้งในรถคันนั้น นอกจากนี้ ยังมีการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจที่ผู้เอาประกันภัยสามารถเลือกซื้อความคุ้มครองได้หลายรูปแบบตามความต้องการ 

ประเภทของการต่อประกันรถยนต์ 

  • ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (Compulsory Motor Insurance) 

การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือที่เรียกว่า ประกันภัย พ.ร.บ. ซึ่งรถยนต์ทุกคันทุกชนิดต้องทำประกันภัยประเภทนี้  เนื่องจากถูกบังคับโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ประกันภัยประเภทนี้ให้ความคุ้มครองและรับผิดชอบต่อความสูญเสียของชีวิต ร่างกาย  หรืออนามัยของประชาชนผู้ประสบภัยจากรถยนต์เท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น นาย อ.  ขับรถไปชนคนที่กำลังเดินข้ามถนนได้รับบาดเจ็บ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับนี้จะรับผิดชอบเฉพาะค่ารักษาพยาบาลของคนเดินถนนที่ได้รับบาดเจ็บเท่านั้น หรือพูดง่ายๆ ว่า “ซ่อมคน ไม่ซ่อมรถ” 

  • ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ (Voluntary Motor Insurance) 

ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ  เป็นการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อ (ผู้เอาประกันภัย) และผู้ขาย  (บริษัทประกันภัย) เป็นการเลือกซื้อความคุ้มครองประกันภัยตามความต้องการของผู้ซื้อโดยไม่มีผู้ใดบังคับซึ่งประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจนี้จะรับผิดชอบต่อความเสียหายส่วนที่เกินจากความรับผิดชอบของประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับนั่นเอง 

ต่อประกันรถยนต์

ต่อประกันรถยนต์ ทำไปทำไม ? 

ผู้ใช้รถบางคนอาจมีคำถามว่าทำไมถึงต้อง ต่อประกันรถยนต์ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายต่อปีที่สูงเอาเรื่องและเป็นการจ่ายทิ้งโดยไม่ได้รับประโยชน์เป็นรูปธรรม แต่แท้จริงแล้วการทำต่อประกันรถยนต์ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อทั้งคนขับและตัวรถ และสำหรับ 5 เหตุผลที่เราต้องต่อประกันรถยนต์ คือ 

  • เป็นเพราะกฎหมายกำหนดและเป็นหน้าที่ของเจ้าของรถที่ต้องปฏิบัติตามถ้าต้องการใช้รถร่วมกับผู้อื่นบนถนนสาธารณะ (โดยเฉพาะพ.ร.บ. ซึ่งต้องทำทุกคัน) 
  • เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้รถที่ผู้ประสบอุบัติเหตุจนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต โดยให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงทีกรณีบาดเจ็บหรือช่วยเหลือที่จำเป็นกรณีเสียชีวิต 
  • เป็นหลักประกันให้กับโรงพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาลในการรับรักษาพยาบาลผู้ประสบอุบัติเหตุ 
  • กระจายความเสี่ยงและแบ่งเบาภาระของผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถ หากมีความผิดในอุบัติเหตุนั้นๆ 

และข้อสุดท้าย คือ สร้างความเชื่อมั่นและอุ่นใจในการใช้งานรถ พร้อมกับรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม สรุปอย่าง่ายๆ ก็คือ การทำต่อประกันรถยนต์ ทำกันไว้ดีกว่าแก้!

Related Posts