ทำไมต้องต่อประกันรถยนต์ ?

การประกันภัยรถยนต์ คือ การประกันความเสียหายอันเกิดจากการใช้รถยนต์ โดยการประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2536 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อคุ้มครองผู้ได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของผู้ประสบภัยเนื่องจากรถที่ใช้หรืออยู่ในทาง หรือเนื่องจากสิ่งที่บรรทุกหรือติดตั้งในรถคันนั้น นอกจากนี้ ยังมีการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจที่ผู้เอาประกันภัยสามารถเลือกซื้อความคุ้มครองได้หลายรูปแบบตามความต้องการ  ประเภทของการต่อประกันรถยนต์  ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (Compulsory Motor Insurance)  การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือที่เรียกว่า ประกันภัย พ.ร.บ. ซึ่งรถยนต์ทุกคันทุกชนิดต้องทำประกันภัยประเภทนี้  เนื่องจากถูกบังคับโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ประกันภัยประเภทนี้ให้ความคุ้มครองและรับผิดชอบต่อความสูญเสียของชีวิต ร่างกาย  หรืออนามัยของประชาชนผู้ประสบภัยจากรถยนต์เท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น นาย อ.  ขับรถไปชนคนที่กำลังเดินข้ามถนนได้รับบาดเจ็บ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับนี้จะรับผิดชอบเฉพาะค่ารักษาพยาบาลของคนเดินถนนที่ได้รับบาดเจ็บเท่านั้น หรือพูดง่ายๆ ว่า “ซ่อมคน ไม่ซ่อมรถ”  ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ (Voluntary Motor Insurance)  ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ  เป็นการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อ (ผู้เอาประกันภัย) และผู้ขาย  (บริษัทประกันภัย) เป็นการเลือกซื้อความคุ้มครองประกันภัยตามความต้องการของผู้ซื้อโดยไม่มีผู้ใดบังคับซึ่งประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจนี้จะรับผิดชอบต่อความเสียหายส่วนที่เกินจากความรับผิดชอบของประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับนั่นเอง  ต่อประกันรถยนต์ ทำไปทำไม ?  ผู้ใช้รถบางคนอาจมีคำถามว่าทำไมถึงต้อง ต่อประกันรถยนต์ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายต่อปีที่สูงเอาเรื่องและเป็นการจ่ายทิ้งโดยไม่ได้รับประโยชน์เป็นรูปธรรม แต่แท้จริงแล้วการทำต่อประกันรถยนต์ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อทั้งคนขับและตัวรถ และสำหรับ 5 เหตุผลที่เราต้องต่อประกันรถยนต์ คือ …

Continue Reading....